นางอัปสรา” แปลว่า “ผู้กระดิกในน้ำ” น้ำในที่นี่คือทะเลน้ำนม (เกษียรสมุทร) ที่เหล่าเทวดาและอสูรใช้เวลา 1,000 ปีช่วยกันกวนเพื่อให้ได้ น้ำอมกฤต ระหว่างที่กวนน้ำอมกฤตบังเกิดนางอัปสราจำนวน 35 ล้านองค์ มีเพียงนางอัปสราเพียงหนึ่งเดียวที่ได้เป็นพระฉายาของพระนารายณ์คือพระนางลักษมีเทวี ส่วน นางอัปสราที่เหลือทุกองค์จึงตกเป็นของกลางแห่งสวรรค์เป็นข้าบริจาริกาของเทวดาทั่วไป นางอัปสรา หรือฉายา นางบำเรอแห่งสวรรค์ ซึ่งมีฐานะเทพที่ได้รับการยกย่องเป็นสัญลักษณ์ของความดีงาม นางอัปสราปรากฏอยู่บนปราสาทที่สร้างขึ้นตามความเชื่อของฮินดู เกือบทุกแห่งรวมทั้งปราสาทหินในประเทศไทย รูปร่างของนางอัปสราในยุคก่อนและหลังนครวัด ล้วนปรากฏรูปลักษณ์ หน้าอกใหญ่ เอวคอด รูปร่างเพรียวลม สันนิษฐานว่าเป็นรูปร่าง ที่เป็นพิมพ์นิยมในสมัยพระชัยวรมันที่ 7
นางอัปสราสู่ระบำอัปสรา
“ระบำอัปสรา” เป็นการแสดงที่ถือกำเนิดขึ้นมา โดยเจ้าหญิงบุปผาเทวี พระราชธิดาในเจ้านโรดมสีหนุ เพื่อเข้าฉากภาพยนตร์เกี่ยวกับนครวัดแต่กลายมาเป็นที่จดจำและเป็นระบำขวัญใจชาวพม่า ด้วยเครื่องประดับศีรษะและท่วงท่าร่ายรำ มีลีลาการร่ายรำอันอ่อนช้อยงดงาม ตรึงตรา ตรึงใจ อันเป็นเอกลักษณ์ที่ถอดแบบมาจากรูปสลักหินนางอัปสราในปราสาทนครวัด “ระบำอัปสรา” จึงเกิดจากแนวความคิดสร้างสรรค์ของอาจารย์เฉลย ศุขวณิช ผู้เชี่ยวชาญทาด้านนาฏศิลป์ไทย แห่งมหาวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ได้ประดิษฐ์ท่ารำขึ้น เพื่อให้สอดคล้องและกลมกลืนกับภาพจำหลักของนางอัปสราอันเป็นสถาปัตยกรรมศิลป์ขอมบายนตอนปลายต่อกับนครวัดตอนต้นที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์และอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำเพลงเขมรกล่อมลูกและเขมรชมดงจากของเดิมมาปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยใช้ท่ารำของนางอัปสราที่ถือดอกบัวเพื่อถวายบูชา ณ ศาสนสถานขอม ที่มีลีลาการร่ายรำอันอ่อนช้อยงดงาม ตรึงตา ตรึงใจ ท่ารำจึงเกิดขึ้นจากจินตนาการของผู้ประดิษฐ์ท่ารำที่ต้องการถ่ายทอดความงดงามของนางอัปสราจากแผ่นศิลา
อ้างอิง
https://www.google.com/search?q=%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B2&rlz=1C1CHBF_enTH850TH850&sxsrf=ALeKk01enW5JsSIt9nHcPU_6q_sGY5wzBg:1582792341695&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUKEwjLmp76qPHnAhVBWysKHS6nA2kQ_AUoAXoECAwQAw&cshid=1582792416577187&biw=1920&bih=920#imgrc=OwPnhlk2qdwtbM&imgdii=BAuW-HRujuJpfM