วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

รำแม่บทเล็ก



      แม่บทเล็ก คือบทร้องคำกลอนที่มีการบอกชื่อของท่ารำ และมีการบรรจุบทร้องไว้ในทำนองเพลง “ชมตลาด บทกลอนแม่บทมักนิยมนำมาใช้ประกอบท่ารำเพื่อให้ผู้รำได้ฝึกลีลาการรำที่เพิ่งขึ้นหลังจากการฝึกหัดเพลงช้าและเพลงเร็ว การรำแม่บทใช้เป็นการฝึกเพื่อให้เรียนรู้ถึงวิธีการรำที่เรียกว่า “รำใช้บท” โดยกลอนรำแม่บทที่ใช้สำหรับฝึกหัดจะมีอยู่ 2 แบบ คือแม่บทเล็ก และแม่บทใหญ่

ประวัติความเป็นมา
       รำแม่บทเล็ก จัดเป็นการร่ายรำตามท่ามาตรฐาน หรือที่เรียกกันว่า “แม่ท่า” เช่นเดียวกับการรำแม่บทใหญ่ แต่กระบวนการรำของแม่บทเล็กจะสั้นกว่าการรำของแม่บทใหญ่ เนื่องจากบทกลอนรำของแม่บทใหญ่จะมีคำกลอนยาวถึง 18 คำกลอน ส่วนแม่บทเล็กมีเพียง 6 คำกลอนเท่านั้น กลอนรำแม่บทเล็กเป็นบทประพันธ์ประเภทกลอนแปดตามฉันลักษณ์ไทย ตัดตอนนำเรื่องมาจากบทละครเรื่องรามเกียรติ์ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โดยการรำแม่บทเล็กนี้ได้จัดเป็นชุดการแสดงที่ใช้แสดงประกอบอยู่ในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระนารายณ์ปราบนนทุก เป็นการรำของนารายณ์แปลง ซึ่งมีเค้าโครงเรื่องย่อของการแสดง ดังนี้
        นนทุก เป็นยักษ์ตนหนึ่งซึ่งอยู่ ณ เชิงเขาไกรลาส มีหน้าที่ล้างเท้าให้แก่เทพบุตรและเทพธิดาที่มาเข้าเฝ้าพระอิศวร ด้วยความสนุกคึกคะนองไม่ว่าจะด้วยเป็นมนุษย์หรือเทพจนทำให้เกิดเป็นเรื่องราวอันโกลาหล กล่าวคือ เมื่อนนทุกล้างเท้าให้เหล่าเทพบุตร เทพธิดานั้น ก็ถูกกลั่นแกล้งสารพัด รังแกด้วยการตบหัวบ้าง เขกศีรษะบ้าง ถอนผมบ้าง ทำให้นนทุกได้รับความเจ็บแค้นทรมานทั้งกายและเจ็บทั้งใจตลอดเวลา จนกระทั่งศีรษะล้าน 
   จนผมโกร๋นโล้นเกลี้ยงถึงเพียงหู 
ฮึดฮัดขัดแค้นแน่นใจ          
เป็นชายดูดู๋มาหมิ่นชาย       
คิดแล้วก็รีบเดินมา          
ดูเงาในน้ำแล้วร้องไห้
ตาแดงดั่งแสงไฟฟ้า
มิตายจะได้มาเห็นหน้า
เฝ้าพระอิศราธิบดี

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปชะดานาง              


อ้างอิง

https://www.youtube.com/watch?v=sqMO42wIDrs

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น